สัตว์ต่าง ๆ ของ การตอบสนองโดยสู้หรือหนี

มุมมองทางวิวัฒนาการ

จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology) อธิบายว่า สัตว์บรรพบุรุษต้องมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าที่เป็นภัยอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีเวลาเตรียมตัวเองทั้งทางกายและทางใจดังนั้น การตอบสนองแบบสู้หรือหนีจึงเป็นกลไกให้สัตว์สามารถตอบสนองต่อภัยชีวิตอย่างรวดเร็ว[27][28]

ตัวอย่าง

ตัวอย่างของการตอบสนองต่อความเครียดที่พบในสัตว์ ก็คือม้าลายที่กำลังกินหญ้าอยู่ถ้ามันเห็นสิงโตกำลังวิ่งเข้ามาเพื่อฆ่า การตอบสนองต่อความเครียดก็จะเริ่มทำงานการหนีจำเป็นต้องใช้กล้ามเนื้อมาก โดยได้รับการสนับสนุนจากระบบอื่น ๆ ของกายการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นโดยเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง

ตัวอย่างที่คล้าย ๆ กันรวมการสู้ของแมวที่สุนัขกำลังโจมตีแมวจะมีหัวใจเต้นเร็ว มีขนตั้ง (ซึ่งปกติจะทำเพื่อรักษาความร้อน) รูม่านตาขยาย ซึ่งแสดงการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก[13]แต่ว่าให้สังเกตว่า ทั้งม้าลายและแมวยังสามารถดำรงภาวะธำรงดุลได้ในสภาวะต่าง ๆ เหล่านี้

ความหลากหลายของการตอบสนอง

สุนัขไล่ควายป่า

สัตว์ตอบสนองต่อภัยด้วยวิธีที่ซับซ้อนหลายอย่างยกตัวอย่างเช่น หนูจะพยายามหนีเมื่อเกิดภัย แต่จะสู้ถ้าจนตรอกสัตว์บางชนิดจะยืนอยู่นิ่ง ๆ เพื่อที่สัตว์ล่าเหยื่อจะไม่เห็นมันสัตว์หลายประเภทจะแข็งตัวและแกล้งตายเมื่อถูกตัวโดยหวังว่าสัตว์ล่าเหยื่อจะเลิกสนใจและสัตว์อื่น ๆ ก็มีวิธีป้องกันตัวอย่างอื่น ๆสัตว์เลือดเย็นบางประเภทเปลี่ยนสีได้อย่างรวดเร็วเพื่ออำพรางตัวเอง[29]

การตอบสนองเหล่านี้เริ่มจากการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก แต่เพื่อให้เข้ากับแบบจำลองสู้หรือหนี แนวคิดเรื่องการหนีต้องขยายรวมทั้งการหนีจากการถูกจับ ไม่ว่าจะโดยทางกายหรือโดยแฝงตัวดังนั้น อาจจะหนีไปสู่อีกสถานที่หนึ่งหรือว่าเพียงแค่หายตัวอยู่ตรงนั้นและบ่อยครั้ง ทั้งการสู้การหนีจะเกิดรวมกันในสถานการณ์หนึ่ง ๆการสู้หรือหนียังปรากฏว่ามีสองข้าง คือ สัตว์อาจจะสู้หรือหนีต่อต้านอะไรบางอย่างที่เป็นภัย เช่นสิงโตหิว หรือสู้หรือหนีไปยังอะไรที่ต้องการ เช่นไปสู่ฝั่งเพื่อความปลอดภัยจากแม่น้ำที่กำลังหลากมา

ภัยจากสัตว์อีกตัวหนึ่งไม่ได้มีผลเป็นปฏิกิริยาสู้หรือหนีทันทีทุกครั้งอาจจะมีช่วงเวลาที่รู้สึกตัวเพิ่มขึ้น เป็นช่วงที่สัตว์ตีความพฤติกรรมของสัตว์อื่นพฤติกรรมเช่น การถอดสี ขนตั้ง การแข็งตัว เสียง และท่าทางอื่น ๆ จะแสดงถึงสถานะและความตั้งใจของสัตว์แต่ละตัวอาจจะมีเหมือนกับระยะการต่อรอง ซึ่งตามด้วยการสู้หรือหนี แต่ก็อาจจะกลายเป็นการเล่นกัน การผสมพันธุ์ หรือไม่เกิดอะไรขึ้นเลยยกตัวอย่างเช่น การเล่นของลูกแมว แม้ว่าลูกแมวแต่ละตัวจะแสดงการตื่นตัวของระบบประสาทซิมพาเทติก แต่ก็ไม่ได้ทำอันตรายแก่กันจริง ๆ

ตัวเมียและตัวผู้มักจะรับมือกับสถานการณ์ก่อความเครียดอย่างแตกต่างกันตัวผู้มีโอกาสตอบสนองสถานการณ์ฉุกเฉินด้วยความก้าวร้าว คือการสู้ สูงกว่า ในขณะที่ตัวเมียมีโอกาสสูงกว่าที่จะหนี หันหน้าไปหาสัตว์อื่นเพื่อให้ช่วย หรือพยายามปลดชนวนสถานการณ์ ที่เรียกว่าการดูแลและผูกมิตร (tend and befriend)คือเมื่อเครียด แม่มีโอกาสสูงเป็นพิเศษที่จะตอบสนองแบบป้องกันลูก และผูกมิตรกับผู้อื่นเพื่อร่วมมือกันตอบสนองต่อภัยที่ปรากฏ[30]

ใกล้เคียง

การตอบสนองโดยสู้หรือหนี การตอบสนองเหตุตกใจ การตอบสนองของพืช การตอบของคอสแซ็กซาปอริฌเฌีย การตอบสนองโดยดูแลและผูกมิตร การตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการก่อภูมิคุ้มกัน การตอบสนองต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ การตอบสนองของก้านสมองต่อเสียง การตั้งชื่อทวินาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: การตอบสนองโดยสู้หรือหนี http://www.huffingtonpost.com/2013/04/19/adrenalin... http://psychcentral.com/blog/archives/2012/12/04/w... http://stresscourse.tripod.com/id11.html http://bbh.hhdev.psu.edu/labs/bbhsl/PDF%20files/ta... http://learn.genetics.utah.edu/content/begin/cells... http://faculty.washington.edu/chudler/auto.html http://faculty.weber.edu/molpin/healthclasses/1110... http://neuromuscular.wustl.edu/pathol/diagrams/gly... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2901125 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12909458